บ้านเผ่าต๋าจีลี่
ต๋าจีลี่ (Dajili) หมายถึงหินอันอุดมสมบูรณ์ในภาษาของชาวไท่ลู่เก๋อ ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อครั้งกัวเหวินกุ้ย อดีตครูเกษียณโรงเรียนประถม พร้อมด้วยภรรยาของเขา เพิงซิวหลัน ได้เริ่มเปิดร้านเล็ก…
คำแนะนำสถานที่
ต๋าจีลี่ (Dajili) หมายถึงหินอันอุดมสมบูรณ์ในภาษาของชาวไท่ลู่เก๋อ ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อครั้งกัวเหวินกุ้ย อดีตครูเกษียณโรงเรียนประถม พร้อมด้วยภรรยาของเขา เพิงซิวหลัน ได้เริ่มเปิดร้านเล็ก ๆ ซึ่งสามารถรองรับลูกค้าได้เพียงสองโต๊ะเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลายเป็นร้านอาหารแบบไท่ลู่เก๋อ ที่มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งสบายๆได้ถึง 30 โต๊ะเลย
บ้านเผ่าต๋าจีลี่ ที่สามารถเดินเข้าไปได้อย่างง่ายๆเพราะไม่มีประตู หน้าต่าง และผนังใดๆที่แสดงอาณาเขต ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุที่กัวเหวินกุ้ยเก็บสะสมมานานนับหลายปี รูปปั้นและภาพเขียนสีน้ำมันล้วนแต่เป็นผลงานที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ส่วนภรรยาของเขา ผู้ซึ่งหลงใหลในการทำอาหารก็ได้คิดค้นสูตรอาหารอร่อยๆที่ส่งกลิ่นหอมละมุนเข้ากับบรรยากาศธรรมชาติในระหว่างรับประทานอาหารได้เป็นอย่างดี พร้อมเสียงไพเราะเสนาะหูจากเหล่านกและแมลงต่างๆ กับสายลมพลิ้วไหวที่โชยลูบไล้ผิวกายอย่างอ่อนโยน ทำให้มื้ออาหารของที่นี่น่าประทับใจยิ่งขึ้น
เมื่อเดินขึ้นมาทางเข้าร้านจะเห็นเนินเล็กๆที่เต็มไปด้วยพุ่มใบเตยขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามทางเดินรูปวงแหวน ใบเตยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย ที่นี่จึงนำมาทำเครื่องดื่มต้อนรับแขกที่มาเยือน ทุกคนต่างก็ชื่นชอบรสของชาที่หอมอ่อนๆคล้ายกับเผือก
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ลูกๆ ของ กัวเหวินกุ้ยได้ทยอยมารับช่วงต่อธุรกิจของพ่อ ลูกสาวคนโตที่กำลังศึกษาเรื่องของกาแฟได้เปิดร้านกาแฟอู๋หม่า ส่วนลูกสาวคนที่สองเริ่มทำสบู่แฮนด์เมคเพื่อเสริมแรงแม่ของเธอในการทำเวิร์คช็อปและการทำความสะอาด ในขณะที่ลูกสาวคนที่สามก็รับผิดชอบด้านการขาย ส่วนลูกชายคนเล็กดูแลจัดการงานในครัว บ้านเผ่าต๋าจีลี่เติบโตขึ้นทุกๆวัน และเนื่องจากให้บริการเฉพาะอาหารกลางวัน อีกทั้งมีบรรยากาศที่ร่มรื่นสะดวกสบาย บวกกับอาหารเมนูพิเศษ จึงทำให้ที่นี่เป็นพิกัดยอดนิยมในโลกโซเชียล
จุดเด่นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม
สมุนไพรและการย้อมสีธรรมชาติ
ปกติชาวเผ่าไท่ลู่เก๋อจะอาศัยอยู่ตามภูเขา มักบริโภคเนื้อหมูและไก่เป็นหลัก ส่วนพืชส่วนใหญ่ เช่น ถั่วลันเตา มันเทศ กล้วย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด เผือก รวมทั้งพืชที่พบตามภูเขา เช่น หัวหอม มาเกลี (พริกไทยป่า) ตะไคร้, อบเชย และเครื่องเทศอื่นๆ ซึ่งเครื่องเทศเหล่านี้ช่วยเพิ่มความเอร็ดอร่อยให้กับอาหาร
อาหารจานพิเศษสุดก็คือ ขนมกล้วย หรือที่เรียกกันว่า “ขนมดรูกู” ซึ่งกินคู่กับข้าวในกระบอกไม้ไผ่เป็นอาหารหลักของชาวไท่ลู่เก๋อ โดยนำข้าวเหนียวมาชุบกล้วยสุกแล้วห่อด้วยใบตอง มัดด้วยเชือกฝ้ายแล้วนึ่งให้สุก ด้วยกรรมวิธีทำที่ง่ายและใช้วัสดุแบบบ้านๆ จึงเป็นอาหารจานเดียวที่ทำเองที่บ้านได้อย่างไม่ยาก
เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวเผ่าพื้นเมืองให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น บ้านต๋าจีลี่จึงตั้งใจเนรมิตพื้นที่ด้านหลังของภูเขาให้เป็นที่ปลูกเครื่องเทศเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์ต่างๆด้วยตนเอง ทั้งการเลือกเก็บส่วนผสมต่างๆและปรุงอาหาร พร้อมทั้งทำความรู้จักกับรสชาติที่แท้จริงของพืชป่าเหล่านั้น