คืนชีวิตที่มีสมดุลทั้งกายใจ
เฉินอิงเหม่ย ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น ‘เชฟแห่งสุขภาพ’ และเป็นผู้ดูแลซากุระแกรนจ์ (Sakula Grange) เดิมทีเคยทำงานที่ร้านเสริมสวยในเขตมหานครทางตะวันตก…
คำแนะนำสถานที่
เฉินอิงเหม่ย ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น ‘เชฟแห่งสุขภาพ’ และเป็นผู้ดูแลซากุระแกรนจ์ (Sakula Grange) เดิมทีเคยทำงานที่ร้านเสริมสวยในเขตมหานครทางตะวันตก แต่ผลจากการทำงานอย่างหนักด้วยความเครียดจึงทำให้เธอเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ หลังจากการผ่าตัดสองครั้ง เธอจึงตัดสินใจย้ายไปฮัวเหลียนเพื่อพักฟื้นและเรียนรู้การปลูกผักเองเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ในช่วงที่มีโอกาสใกล้ชิดพืชผักจึงพบว่าถ้าไม่ใช้ย่าฆ่าแมลง ผลผลิตก็คงถูกแมลงกินหมด แต่ก็ยังครางใจว่าเหตุใดผักป่าที่ขายโดยชาวพื้นเมืองในตลาดจึงทั้งสดและมีรสชาติอร่อย นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเรียนรู้การปลูกและการเก็บผักให้ได้ผลดีอย่างจริงจัง
สำหรับชาวพื้นเมืองแล้ว พวกเขาเชื่อว่าผักป่าเป็นของขวัญจากพระเจ้าที่ประทานมาให้ และพระเจ้ายังมอบพืชผักหลากหลายชนิดในฤดูกาลที่แตกต่างกัน หลังจากที่เฉินอิงเหม่ยได้ตกหลุมรักผักป่าแล้ว เธอจึงเชิญเพื่อน ๆ มาร่วมรับประทานอาหารและเรียนรู้ประโยชน์ของผักป่าด้วยกัน จนเพื่อนๆต่างก็เรียกร้องให้เธอเปิดร้านอาหารที่นำเอาผักป่านานาชนิดมาเป็นซิกเนเจอร์ของร้าน
เป็นเวลากว่า 20 ปี แล้วที่เธอได้ปลูกผักป่า 65 ชนิดในฟาร์มที่มีเนื้อที่มากกว่า 6 ไร่แห่งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักและเข้าใจผักป่ามากขึ้น ไม่ว่าจะถั่วลันเตาหรือควินัวแดงที่เลื้อยอยู่รอบๆ อีกทั้ง ขมิ้น ขิงป่า หรือแม้แต่ดอกเข็มสเปน ก็ถูกนำมาใช้ในการชงชาสมุนไพร
จุดเด่นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม
พืชผัก
“ซองสมุนไพร” เป็นสิ่งพิเศษที่มาช่วยลดปริมาณพิวริน หรือสารก่อให้เกิดโรคเกาท์ ในการต้มซุป ผักป่ามักเป็นที่รู้จักกันในนามของสมุนไพร ที่สวนผักแห่งนี้จะล้างผักป่าแล้วส่งให้สมาคมเกษตรกร เพื่อนำไปผึ่งให้แห้งและบดเป็นผงทำเป็น “ซองสมุนไพร” ที่ต้มในน้ำสำหรับเป็นน้ำซุปเพื่อสุขภาพ ซากุระเกรนจ์จะเน้นสรรพคคุณของผักป่าโดยเฉพาะในเรื่องการดีท็อกซ์หรือล้างสารพิษในท้อง และยังแนะนำให้ทุกคนทานผักป่า 1 กระจาด ผักป่าบางชนิดอาจมีรสขมเล็กน้อย แต่เมื่อนำผักป่าห้าชนิดไปต้มในซุปแล้วจุ่มซอส จะทำให้ความขมแปรสภาพเป็นกลาง และช่วยดึงรสชาติอันละมุนของผักป่าออกมาอีกด้วย
นักท่องเที่ยวสามารถมาสัมผัสประสบการณ์ในห้องเรียนผักป่าของซากุระแกรนจ์ และกิจกรรมการสำรวจต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ได้รู้จักและลงมือเก็บผักป่าในฟาร์มเองเท่านั้น แต่ยังได้มีโอกาสเรียนรู้ขั้นตอนแปรรูปพืชผลต่าง ๆ ตามฤดูกาลด้วยตัวเองแบบ DIY อย่างชาวฮากกาอีกด้วย เฉินอิงเหม่ยเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบอาหารดองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะลูกพลัม แม้ว่าต้นพลัมจะไม่สามารถปลูกในฟาร์มนี้ได้เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย แต่เธอก็ซื้อลูกพลัมจำนวนมาก เพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย นอกจากนี้ยังใส่ลูกพลัมในหมูตุ๋นเพื่อลดวามมัน และทำเบียร์พลัมแฮนด์เมดเอง ซึ่งถ้าใครได้ลิ้มรส รับรองว่าจะติดใจไม่มีวันลืมเลย